ประวัติ (พระซุ้มกอกำแพงเพชร) ต้นแบบของพระสมเด็จวัดระฆัง
พระซุ้มกอกำแพงเพชรจัดเป็นพระเครื่องที่สุดยอดสกุลหนึ่ง และเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณ และถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระซุ้มกอกำแพงเพชรเป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่าน108และเกสรดอกไม้และทำจากเนื้อชินเงินก็มี พุทธลักษณะของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นองค์พระแกะเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเครื่อง พุทธลักษณะอยู่ในยุคสมัยสุโขทัยนั่งขัดสมาธิมีลวดลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ และนั่งประทับอยู่บนดอกบัวเล็บช้างห้าดอก และส่วนของขอบพิมพ์พระจะโค้งมนมีลักษณะคล้ายๆตัว ก.ไก่ คนรุ่นเก่าๆ จึงเรียกตามลักษณะนี้ว่า “พระซุ้มกอ”
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมือง ชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี
พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์ ประกอบด้วย
1. พิมพ์ใหญ่ จะแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้มซึ่งมักจะเรียกกันว่า “พระซุ้มกอดำ” แต่ซุ้มกอดำก็พบมีลายกนกเช่นกันแต่พบน้อย
2. พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายาก
3. พิมพ์เล็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์กลางลายกนก เพียงแต่เล็กและบางกว่า
4. พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงแล้วก็คือพิมพ์ต่างๆของพระซุ้มกอนั่นเองเพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบที่มนออก จึงมองดูคล้ายๆขนมเปี๊ยะ
พระซุ้มกอกำแพงเพชรทั้งที่มีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยผสมกับ ศิลปะของศรีลังกา โดยเฉพาะพระซุ้มกอที่ไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาหรือศิลปะแบบตะกวนอย่างช ัดเจน
เนื้อของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นจะมีส่วนของดินกลางเมืองซึ่งเป็นดินที่มีความศักดิ์เ พราะถือว่าเป็นดินที่ไม่ถูกเหยียบย่ำผสมกับว่าน 108 และเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของ พระซุ้มกอกำแพงเพชรมีลักษณะที่นุ่มมันละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณ ะมันวาวขึ้นทันทีและลักษณะของเนื้อพระซุ้มกอกำแพงเพชรที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระนั้นจะปรากฏมีจุดสีแดงเข้มๆ ซึ่งเรียกว่า “แร่ดอกมะขาม” และตามซอกในส่วนที่ลึกขององค์พระซุ้มกอจะมีจุดดำๆ ซึ่งเรียกว่า คราบราดำ หรือ รารัก จับอยู่ตามบริเวณซอกขององค์พระ ดังนั้นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ จึงเป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นนอกจากจะมีเนื้อดินแล้วยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่าน ล้วนๆก็มีแต่พบเห็นน้อยมากหรือแทบจะไม่พบเห็นเลย
พระกำแพงซุ้มกอ กรุกำแพงเพชรส่วนมากที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤๅษี และตลอดทั่วบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และแถวๆบริเวณนอกทุ่งเศรษฐีก็มี
ส่วนพระซุ้มกอกำแพงเพชรที่ไม่มีลวดลายกนกที่มีสีน้ำตาลเข้มนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยา กมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำปนเขียว
สีของพระซุ้มกอกำแพงเพชร จะมีด้วยกันหลายหลายสีขึ้นอยู่กับมวลสารที่ผสมและการเผาที่อุณภูมิต่างกัน เช่นพระที่ถูกเผาด้วยอุณภูมิที่พอเหมาะสีจะออกมาเป็นอิฐมอญส่วนพระที่ถูกเผาด้วยอุณภ ูมิความร้อนที่สูงสีของพระจะออกมาเป็นสีเขียวมอย ส่วนพระที่ถูกเผาด้วยความร้อนน้อยสีจะออกมาเป็นสีดอกพิกุล
1. สีดอกพิกุล 2. สีขมิ้นชัน 3. สีอิฐ 4. สีแดง 5. สีเขียวมอย 6. สีดำ เป็นต้น
สีของพระซุ้มกอกำแพงเพชรซุ้มกอไม่มีกนกหรือซุ้มกอดำนั้นเมื่อสองดูจะพบว่าเป็นสีน้ำต าลเข้มจนมองว่าเป็นดำแต่จริงแล้วเป็นน้ำตาลเข้มชมภาพกันครับ
Cr. http://www.meeboard.com
พระซุ้มกอกำแพงเพชรจัดเป็นพระเครื่องที่สุดยอดสกุลหนึ่ง และเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณ และถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระซุ้มกอกำแพงเพชรเป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่าน108และเกสรดอกไม้และทำจากเนื้อชินเงินก็มี พุทธลักษณะของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นองค์พระแกะเป็นรูปพระโพธิสัตว์ทรงเครื่อง พุทธลักษณะอยู่ในยุคสมัยสุโขทัยนั่งขัดสมาธิมีลวดลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ และนั่งประทับอยู่บนดอกบัวเล็บช้างห้าดอก และส่วนของขอบพิมพ์พระจะโค้งมนมีลักษณะคล้ายๆตัว ก.ไก่ คนรุ่นเก่าๆ จึงเรียกตามลักษณะนี้ว่า “พระซุ้มกอ”
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมือง ชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี
พระกำแพงซุ้มกอทรงเครื่อง กรุกำแพงเพชร
พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์ ประกอบด้วย
1. พิมพ์ใหญ่ จะแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้มซึ่งมักจะเรียกกันว่า “พระซุ้มกอดำ” แต่ซุ้มกอดำก็พบมีลายกนกเช่นกันแต่พบน้อย
2. พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายาก
3. พิมพ์เล็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์กลางลายกนก เพียงแต่เล็กและบางกว่า
4. พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงแล้วก็คือพิมพ์ต่างๆของพระซุ้มกอนั่นเองเพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบที่มนออก จึงมองดูคล้ายๆขนมเปี๊ยะ
พระซุ้มกอกำแพงเพชรทั้งที่มีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยผสมกับ ศิลปะของศรีลังกา โดยเฉพาะพระซุ้มกอที่ไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาหรือศิลปะแบบตะกวนอย่างช ัดเจน
เนื้อของพระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นจะมีส่วนของดินกลางเมืองซึ่งเป็นดินที่มีความศักดิ์เ พราะถือว่าเป็นดินที่ไม่ถูกเหยียบย่ำผสมกับว่าน 108 และเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของ พระซุ้มกอกำแพงเพชรมีลักษณะที่นุ่มมันละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณ ะมันวาวขึ้นทันทีและลักษณะของเนื้อพระซุ้มกอกำแพงเพชรที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระนั้นจะปรากฏมีจุดสีแดงเข้มๆ ซึ่งเรียกว่า “แร่ดอกมะขาม” และตามซอกในส่วนที่ลึกขององค์พระซุ้มกอจะมีจุดดำๆ ซึ่งเรียกว่า คราบราดำ หรือ รารัก จับอยู่ตามบริเวณซอกขององค์พระ ดังนั้นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ จึงเป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้นนอกจากจะมีเนื้อดินแล้วยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่าน ล้วนๆก็มีแต่พบเห็นน้อยมากหรือแทบจะไม่พบเห็นเลย
พระกำแพงซุ้มกอทรงเครื่องกำไร 3 ห่วง
พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ
พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ
พระกำแพงซุ้มกอ กรุกำแพงเพชรส่วนมากที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤๅษี และตลอดทั่วบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และแถวๆบริเวณนอกทุ่งเศรษฐีก็มี
ส่วนพระซุ้มกอกำแพงเพชรที่ไม่มีลวดลายกนกที่มีสีน้ำตาลเข้มนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยา กมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำปนเขียว
สีของพระซุ้มกอกำแพงเพชร จะมีด้วยกันหลายหลายสีขึ้นอยู่กับมวลสารที่ผสมและการเผาที่อุณภูมิต่างกัน เช่นพระที่ถูกเผาด้วยอุณภูมิที่พอเหมาะสีจะออกมาเป็นอิฐมอญส่วนพระที่ถูกเผาด้วยอุณภ ูมิความร้อนที่สูงสีของพระจะออกมาเป็นสีเขียวมอย ส่วนพระที่ถูกเผาด้วยความร้อนน้อยสีจะออกมาเป็นสีดอกพิกุล
1. สีดอกพิกุล 2. สีขมิ้นชัน 3. สีอิฐ 4. สีแดง 5. สีเขียวมอย 6. สีดำ เป็นต้น
สีของพระซุ้มกอกำแพงเพชรซุ้มกอไม่มีกนกหรือซุ้มกอดำนั้นเมื่อสองดูจะพบว่าเป็นสีน้ำต าลเข้มจนมองว่าเป็นดำแต่จริงแล้วเป็นน้ำตาลเข้มชมภาพกันครับ
พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ซุ้มกอดำ)
Cr. http://www.meeboard.com